Sep 29, 2009

รู้จักส่วนประกอบต่างๆของคอมพิวเตอร์ (เพิ่มเติม)

...........มีหลายๆท่านที่ไม่กล้าที่จะซื้อคอมพิวเตอร์มาประกอบเองเพราะไม่รู้ว่าจะ ซื้ออะไร? รุ่นไหนแบบไหน? และประกอบอย่างไร? หรือเกิดอาการกล้วนู้นนี่พังกันไปต่างๆนาๆ และแล้วทางโอเวอร์คล็อกโซนก็ได้เล็งเห็นว่ายังมีชนกลุ้มน้อย เอ้ย!! กลุ่มคนที่ยังไม่รู้ว่าวิธีการประกอบเครื่องเค้าทำกันอย่างไร และใช้อะไรในการประกอบ ก็เลยเปิดโซนใหม่ขึ้นมาโดยมีแนวคิดจากคุณตี๋เรานั้นเองครับภายใต้ชื่อว่า " Basic pc " เพื่อให้ผู้ที่ไม่เคยประกอบเครื่องหรือผู้ที่คิดจะซื้อมาประกอบเองได้เป็นแนวทางในการนำไปใช้ ได้และจะได้ประกอบเครื่องได้โดยฝีมือตนเอง จะได้พูดได้อย่างเต็มปากว่า "ตูประกอบเครื่องเป็นเฟ้ย มันเรื่องจิ๊บๆ" แถมยังถูกกว่าเครื่องบริษัทด้วยนะก่อนอื่นก็ต้องขอแนะนำอุปกรณ์กันก่อน

อุปกรณ์ในการประกอบคอมพิวเตอร์

CPU

AMD opteron

AMD Duron (Applebred Core)

CPU จะทำหน้าที่ประมวณผลและควบคุมการทำงานของระบบทั้งหมดจะคล้ายๆสมองของคนเราที่คิดหรือประมวลผลในด้านต่างๆ และมีความเร็วแตกต่างกัน ในตอนนี้ cpu ที่ได้รับความนิยมอยู่ก็มี INTEL และ AMD ตอนนี้ที่ออกมาก็มีอยู่หลายหลายรุ่นด้วยกันส่วนการเลือกซื้อนั้นก็มีราคาสูง-ตํ๋าตามความเร็วของ Cpu และรุ่นนั้นเอง และในปัจจุบัน cpu ของทาง intel ได้มี Hyper Thearding Technology ซื้งจะช่วยให้เครื่องมองเห็น cpu เป็นสอง cpu และ cpu นั้นมี FSB ( Fron Side BUS ) และตัวคูณ ( Multiplier ) แตกต่างกันออกไปรวมทั้งไฟเลี้ยงหรือ Vcore นั้นเองและได้มีกลุ่มคนที่จะทำความเร็วของ cpu ให้มากขึ้นไปเราเรียกกันว่าการโอเวอร์คล็อก

Mainboard

Chaintech ZNF3-150

DFI LANPARTY 865PE

Mainboard เป็นแผงวงจรที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางรับรองอุปกรณ์ต่างๆเช่น CPU, RAM, Hard Disk, CD-ROM, Floppy Disk, VGA Card ฯลฯ นอกจากนี้เมนต์บรอด์ในปัจจุบันก็ได้แบบออกเป็น 2 ประเภท คือ AT กับ ATX แต่ในปัจจุบันนี้คงมีเพียง ATX เท่านั้นที่นิยมใช้กันมากเพราะหาซื้อได้ง่ายกว่า MicroATX เมนบอร์ดแบบ ATX นี้ยังแบ่งได้อีก 2 แบบ คือ ATX และ Micro ATX ซึ่งมีข้อแตกต่างกันในเรื่องของขนาดที่เล็กจึงไม่สามารถใส่อุปกรณ์ได้น้อยนั้นเนื่องจากสล็อกที่น้อยกว่าบรอด์แบบ ATX ส่วนการเลือกซื้อนั้นต้องซื้อให้เหมาะสมกับงานที่เราจะใช้และให้ตรงกับ Socket ที่ซีพียูสามารถรับรองได้ด้วยดังนี้

Socket
CPU
370
Intel Pentium III / Celeron
478
Intel Pentium 4
462
AMD Athlon / Duron
754
AMD Athlon 64
940
AMD Opteron / Athlon 64 FX-51

Chipset เมนบอร์ดจะมีความสามารถในการรองรับกับอุปกรณ์ใหม่ๆ ได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับชิปเซ็ตเป็นหลัก สำหรับหน้าที่ของชิปเซ็ต คือ ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ด สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ

NorthBridge......ชิปเซ็ตที่กำหนดว่าเมนบอร์ดของนั้นมีความสามารถในการรองรับความเร็วของ Cpu ได้ในระดับไหน หรือ
สนับสนุนหน่วยความจำประเภทไหนได้บ้าง โดยชิปเซ็ตนี้มีหน้าที่ในการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทำงานด้วยความเร็วระบบบัสสูงๆ ไม่ว่าจะเป็น Cpu
Ram และ Vga Card

SouthBridge......ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยความเร็วระบบบัสไม่สูงมากนัก เช่น พอร์ต IDE, SATA ระบบบัส PCI และอื่นๆ

Ram

Corsair XMS PC3500

Kingston Hyper X PC3500

RAM ย่อมาจาก Random Access Memory เป็นหน่วยความจำหลักที่สามารถเขียนและลบได้ไม่สิ้นสุดแต่ข้อมูลที่อยู่ไม่ถาวร หากไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง ความเร็วของแรมที่ขายๆกันอยู่ตอนนี้ก็จะมีขนาดตั่งแต่ 32MB/64MB/128MB/256MB/512MB/1GB และก็มีหลายประเภทเช่น SDRAM, DDRRAM, RDRAM ฯลฯ ถ้านับรวมๆ กันแล้วคงเกินกว่า 10 ชนิด แต่ที่นิยมใช้กันอยู่ทุกวันนี้ มีแรมอยู่เพียง 4 ชนิดเท่านัน ที่ยังมีให้เห็นกันอยู่ และสามารถหาซื้อได้ ซึ่งประกอบด้วย RAM ดังต่อไปนี้

ชนิดของ RAM
DDR-RAM Speed
FSB Speed
EDO-DRAM
66 MHz
66 MHz
SD-RAM-100
100 MHz
100 MHz
SD-RAM-133
133 MHz
133 MHz
DDR-200 หรือ PC-1600
200 MHz
100 MHz
DDR-266 หรือ PC-2100
266 MHz
133 MHz
DDR-300 หรือ PC-2400
300 MHz
150 MHz
DDR-333 หรือ PC-2700
333 MHz
166 MHz
DDR-400 หรือ PC-3200
400 MHz
200 MHz
DDR-500 หรือ PC-4000
500 MHz
230 MHz
RD-RAM
800 MHz
800 MHz

Display Card

Power Color Radeon 9800 XT

Winfast GeFORCE FX 5950 Ultra

Display Card หรือเรียกอีกอย่างว่าการ์ดแสดงผลนั้นทำหน้าที่ในการประมวลผลมาเป็นสัญญาณภาพ แล้วส่งต่อให้จอมอนิเตอร์อีกทีหนึ่ง เพื่อแสดงเป็นภาพให้เห็นบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเรา อุปกรณ์ที่ทำงานหลักๆ ซึ่งจะประกอบไปด้วย ชิปประมวลผลกราฟิก (GPU) , หน่วยความจำ (RAM) , ที่เหลือก็จะเป็นส่วนประกอบเล็กๆ น้อยๆ เพื่อเพิ่มความสามารถให้กับตัวการ์ดแสดงผลนั่นเอง สำหรับหน้าที่ของอุปกรณ์แต่ละตัว เช่น GPU เปรียบได้กับ การทำงานขอ Cpu โดยทำงานร่วมกับ Driver การ์ดแสดงผลปกติจะมีเพียงพอร์ตเชื่อมต่ออย่าง D-Sub เท่านั้น แต่ปัจจุบันการ์ดแสดงผลในท้องตลาด มักจะมาพร้อมกับพอร์ตเชื่อมต่อหลากหลายชนิด เช่น AV,S-Video TV In/Out , DVI เหล่านี้ซึ่งจะช่วยในการทำานในด้านต่างๆที่มากขึ้น

Harddisk

WD Raptor - 36.0GB - SATA150 - 10000rpm

Harddisk ประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสจะขึ้นอยู่กับความจุของฮาร์ดดิสความเร็วในการทำงาน มาตรฐานการเชื่อมต่อ และอัตราการโอนถ่ายข้อมูล ปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบก็คือ ATA66, 100 และ 133 รวมถึงการเชื่อมต่อทั้งแบบที่เราเรียกว่า IDE และ SATA นอกจากนี้ จะมีความเร็วในการหมุนคือ 5400 rpm และ 7200 rpm และ 10000 rpm รอบต่อนาที ยิ่งฮาร์ดดิสก์สามารถหมุนได้เร็วเท่าไหร่ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ส่วนอัตตราการเก็บข้อมูลนั้นก็มีอยู่หลายขนาด เช่น 20,40 60,80,120GB

CR-ROM DRIVE / CDRW

CD-RW จาก Asus ความเร็ว 52x32x52x

CD-RW จาก Imation ความเร็ว 52x32x52x

Cd-Rom Drive / CDRW เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เรียกข้อมูลในแผ่น CD ซื่งจะในปัจจุบันนั้นมีความเร็วตั่งแต่ 8x - 56x และมีราคาที่ไม่สูงมากนัก รวมทั้ง CDRW ก็เช่นกัน CDRW นั้นสามารถบันทึกหรือที่เรียกว่า Burner นั้นเอง ความเร็วนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเร็วที่เขียนอยู่ที่ด้านหน้าของตัวเครื่องนั้นเอง จะมีความเร็วดังนี้เช่น 52x24x52 เพื่อจะที่จะเขียนข้อมูลงแผ่น CDR และจะมีอินเตอร์เฟซแบบ IDE

POWER SUPPLY

Antec True Power Supply 480W

Power Supply จะทำการจ่ายไฟเลี้ยงให้กับอุปกรณ์ต่างๆภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด โดยจะจ่ายไฟเป็น DC ที่ 5 และ 12 โวล์ต ขนาดของแรงดันไฟนั้นขึ้นอยู่กับอุปกรณ์รอบข้างว่าเข้ากับเครื่องได้มากน้อยแค่ไหน ยิ่งจ่ายไฟฟ้าได้มากวัตต์ เท่าไหร่ ก็จะสามารถรองรับอุปกรณ์รอบข้างได้มากเท่านั้นก็ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ภายในของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย ปัจจุบัน Powersupply มีแรงดันไฟที่ 230W ถึง 500W ก็มีแต่ถ้าเป็นของ sevrver นั้นก็จะมีขนาดไฟที่สูงกว่าเยอะเพราะต้องใช้อุปกรณ์ที่มาก ส่วนหัวเสียบนั้นที่นิยมกันก็จะเป็นแบบ ATX นั้นเอง

HEATSINK

Heatpipe Heatsink จาก Taisol

Thermaltake Volcano 9

Heatsink ใช้สำหรับการระบายความร้อนที่เกิดจากอุปกรณ์ต่างภายในเครื่อง โดยเฉพาะซีพียูที่ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความร้อนสูงสุด ซึ่งหากขาด heatsink ซีพียูก็จะไหม้ทันที ดังนั้น heatsink จึงถือเป็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่ง ที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะขาดไม่ได้เด็ดขาด ปกติฮีตซิงก์มักใช้งานร่วมกับพัดลม หรืออุปกรณ์โอนถ่ายความร้อนอื่นๆ เช่น ซิลิโคน เพื่อให้ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนให้สูงสุด โดยมากแล้ว heatsink จะใช้กับ Cpu, Ram, Vga card และ Chipset ทั่วไปซึ่ง heatsink แต่ละแบบก็จะใช้ได้เฉพาะกับอุปกรณ์ที่รองรับเท่านั้น เพราะไม่ว่าจะเป็นขนาด รูปร่าง และวิธีการติดตั้งที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยัง heatsink ยังมีเทคโนโลยี Heat Pipe คือ เทคโนโลยีที่ใช้ท่อกรวงบรรจุของเหลวติดตั้งบนตัว heatsink ซึ่งปลายด้านหนึ่งจะติดอยู่ที่ฐาน และปลายอีกด้านจะติดอยู่ที่ด้านบนของ heatsink ซึ่งของเหลวภายในจะช่วยนำความร้อนจากฐานถ่ายไปด้านบน ซึ่งจะช่วยให้การระบายความร้อนอีกทาง แทนที่จะระบายผ่านครีบและพัดลมเพียงอย่างเดียว

..........ก็แนะนำกันไปพอหอมปากหอมคอนะครับ เมื่อรู้จักอุปกรณ์ต่างๆที่เราจะประกอบก็ลงมือประกอบเครื่องกันได้เลย แต่ทางโอเวอร์คล็อกโซนจะมีบทความแบบทุกขั้นทุกตอนในการประกอบเครื่องตามมาทีหลังอย่างแน่นอนนะครับ สำหรับผู้ที่ไม่เคยประกอบเอง คราวนี้แหละจะได้พูดได้ว่า " ตูประกอบเองเฟ้ย 555 " ทั้งนี้ขอขอบคุณเพื่อนๆพี่ๆที่ติและต่อว่าเรื่องบทความนี่นะครับทางเราได้ดำเนินการแก้ไข้แล้ว


ขอขอบคุณ http://www.overclockzone.com


No comments:

Post a Comment