Sep 29, 2009

รู้จักส่วนประกอบต่างๆของคอมพิวเตอร์ (เพิ่มเติม)

...........มีหลายๆท่านที่ไม่กล้าที่จะซื้อคอมพิวเตอร์มาประกอบเองเพราะไม่รู้ว่าจะ ซื้ออะไร? รุ่นไหนแบบไหน? และประกอบอย่างไร? หรือเกิดอาการกล้วนู้นนี่พังกันไปต่างๆนาๆ และแล้วทางโอเวอร์คล็อกโซนก็ได้เล็งเห็นว่ายังมีชนกลุ้มน้อย เอ้ย!! กลุ่มคนที่ยังไม่รู้ว่าวิธีการประกอบเครื่องเค้าทำกันอย่างไร และใช้อะไรในการประกอบ ก็เลยเปิดโซนใหม่ขึ้นมาโดยมีแนวคิดจากคุณตี๋เรานั้นเองครับภายใต้ชื่อว่า " Basic pc " เพื่อให้ผู้ที่ไม่เคยประกอบเครื่องหรือผู้ที่คิดจะซื้อมาประกอบเองได้เป็นแนวทางในการนำไปใช้ ได้และจะได้ประกอบเครื่องได้โดยฝีมือตนเอง จะได้พูดได้อย่างเต็มปากว่า "ตูประกอบเครื่องเป็นเฟ้ย มันเรื่องจิ๊บๆ" แถมยังถูกกว่าเครื่องบริษัทด้วยนะก่อนอื่นก็ต้องขอแนะนำอุปกรณ์กันก่อน

อุปกรณ์ในการประกอบคอมพิวเตอร์

CPU

AMD opteron

AMD Duron (Applebred Core)

CPU จะทำหน้าที่ประมวณผลและควบคุมการทำงานของระบบทั้งหมดจะคล้ายๆสมองของคนเราที่คิดหรือประมวลผลในด้านต่างๆ และมีความเร็วแตกต่างกัน ในตอนนี้ cpu ที่ได้รับความนิยมอยู่ก็มี INTEL และ AMD ตอนนี้ที่ออกมาก็มีอยู่หลายหลายรุ่นด้วยกันส่วนการเลือกซื้อนั้นก็มีราคาสูง-ตํ๋าตามความเร็วของ Cpu และรุ่นนั้นเอง และในปัจจุบัน cpu ของทาง intel ได้มี Hyper Thearding Technology ซื้งจะช่วยให้เครื่องมองเห็น cpu เป็นสอง cpu และ cpu นั้นมี FSB ( Fron Side BUS ) และตัวคูณ ( Multiplier ) แตกต่างกันออกไปรวมทั้งไฟเลี้ยงหรือ Vcore นั้นเองและได้มีกลุ่มคนที่จะทำความเร็วของ cpu ให้มากขึ้นไปเราเรียกกันว่าการโอเวอร์คล็อก

Mainboard

Chaintech ZNF3-150

DFI LANPARTY 865PE

Mainboard เป็นแผงวงจรที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางรับรองอุปกรณ์ต่างๆเช่น CPU, RAM, Hard Disk, CD-ROM, Floppy Disk, VGA Card ฯลฯ นอกจากนี้เมนต์บรอด์ในปัจจุบันก็ได้แบบออกเป็น 2 ประเภท คือ AT กับ ATX แต่ในปัจจุบันนี้คงมีเพียง ATX เท่านั้นที่นิยมใช้กันมากเพราะหาซื้อได้ง่ายกว่า MicroATX เมนบอร์ดแบบ ATX นี้ยังแบ่งได้อีก 2 แบบ คือ ATX และ Micro ATX ซึ่งมีข้อแตกต่างกันในเรื่องของขนาดที่เล็กจึงไม่สามารถใส่อุปกรณ์ได้น้อยนั้นเนื่องจากสล็อกที่น้อยกว่าบรอด์แบบ ATX ส่วนการเลือกซื้อนั้นต้องซื้อให้เหมาะสมกับงานที่เราจะใช้และให้ตรงกับ Socket ที่ซีพียูสามารถรับรองได้ด้วยดังนี้

Socket
CPU
370
Intel Pentium III / Celeron
478
Intel Pentium 4
462
AMD Athlon / Duron
754
AMD Athlon 64
940
AMD Opteron / Athlon 64 FX-51

Chipset เมนบอร์ดจะมีความสามารถในการรองรับกับอุปกรณ์ใหม่ๆ ได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับชิปเซ็ตเป็นหลัก สำหรับหน้าที่ของชิปเซ็ต คือ ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ด สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ

NorthBridge......ชิปเซ็ตที่กำหนดว่าเมนบอร์ดของนั้นมีความสามารถในการรองรับความเร็วของ Cpu ได้ในระดับไหน หรือ
สนับสนุนหน่วยความจำประเภทไหนได้บ้าง โดยชิปเซ็ตนี้มีหน้าที่ในการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทำงานด้วยความเร็วระบบบัสสูงๆ ไม่ว่าจะเป็น Cpu
Ram และ Vga Card

SouthBridge......ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยความเร็วระบบบัสไม่สูงมากนัก เช่น พอร์ต IDE, SATA ระบบบัส PCI และอื่นๆ

Ram

Corsair XMS PC3500

Kingston Hyper X PC3500

RAM ย่อมาจาก Random Access Memory เป็นหน่วยความจำหลักที่สามารถเขียนและลบได้ไม่สิ้นสุดแต่ข้อมูลที่อยู่ไม่ถาวร หากไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง ความเร็วของแรมที่ขายๆกันอยู่ตอนนี้ก็จะมีขนาดตั่งแต่ 32MB/64MB/128MB/256MB/512MB/1GB และก็มีหลายประเภทเช่น SDRAM, DDRRAM, RDRAM ฯลฯ ถ้านับรวมๆ กันแล้วคงเกินกว่า 10 ชนิด แต่ที่นิยมใช้กันอยู่ทุกวันนี้ มีแรมอยู่เพียง 4 ชนิดเท่านัน ที่ยังมีให้เห็นกันอยู่ และสามารถหาซื้อได้ ซึ่งประกอบด้วย RAM ดังต่อไปนี้

ชนิดของ RAM
DDR-RAM Speed
FSB Speed
EDO-DRAM
66 MHz
66 MHz
SD-RAM-100
100 MHz
100 MHz
SD-RAM-133
133 MHz
133 MHz
DDR-200 หรือ PC-1600
200 MHz
100 MHz
DDR-266 หรือ PC-2100
266 MHz
133 MHz
DDR-300 หรือ PC-2400
300 MHz
150 MHz
DDR-333 หรือ PC-2700
333 MHz
166 MHz
DDR-400 หรือ PC-3200
400 MHz
200 MHz
DDR-500 หรือ PC-4000
500 MHz
230 MHz
RD-RAM
800 MHz
800 MHz

Display Card

Power Color Radeon 9800 XT

Winfast GeFORCE FX 5950 Ultra

Display Card หรือเรียกอีกอย่างว่าการ์ดแสดงผลนั้นทำหน้าที่ในการประมวลผลมาเป็นสัญญาณภาพ แล้วส่งต่อให้จอมอนิเตอร์อีกทีหนึ่ง เพื่อแสดงเป็นภาพให้เห็นบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเรา อุปกรณ์ที่ทำงานหลักๆ ซึ่งจะประกอบไปด้วย ชิปประมวลผลกราฟิก (GPU) , หน่วยความจำ (RAM) , ที่เหลือก็จะเป็นส่วนประกอบเล็กๆ น้อยๆ เพื่อเพิ่มความสามารถให้กับตัวการ์ดแสดงผลนั่นเอง สำหรับหน้าที่ของอุปกรณ์แต่ละตัว เช่น GPU เปรียบได้กับ การทำงานขอ Cpu โดยทำงานร่วมกับ Driver การ์ดแสดงผลปกติจะมีเพียงพอร์ตเชื่อมต่ออย่าง D-Sub เท่านั้น แต่ปัจจุบันการ์ดแสดงผลในท้องตลาด มักจะมาพร้อมกับพอร์ตเชื่อมต่อหลากหลายชนิด เช่น AV,S-Video TV In/Out , DVI เหล่านี้ซึ่งจะช่วยในการทำานในด้านต่างๆที่มากขึ้น

Harddisk

WD Raptor - 36.0GB - SATA150 - 10000rpm

Harddisk ประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสจะขึ้นอยู่กับความจุของฮาร์ดดิสความเร็วในการทำงาน มาตรฐานการเชื่อมต่อ และอัตราการโอนถ่ายข้อมูล ปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบก็คือ ATA66, 100 และ 133 รวมถึงการเชื่อมต่อทั้งแบบที่เราเรียกว่า IDE และ SATA นอกจากนี้ จะมีความเร็วในการหมุนคือ 5400 rpm และ 7200 rpm และ 10000 rpm รอบต่อนาที ยิ่งฮาร์ดดิสก์สามารถหมุนได้เร็วเท่าไหร่ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ส่วนอัตตราการเก็บข้อมูลนั้นก็มีอยู่หลายขนาด เช่น 20,40 60,80,120GB

CR-ROM DRIVE / CDRW

CD-RW จาก Asus ความเร็ว 52x32x52x

CD-RW จาก Imation ความเร็ว 52x32x52x

Cd-Rom Drive / CDRW เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เรียกข้อมูลในแผ่น CD ซื่งจะในปัจจุบันนั้นมีความเร็วตั่งแต่ 8x - 56x และมีราคาที่ไม่สูงมากนัก รวมทั้ง CDRW ก็เช่นกัน CDRW นั้นสามารถบันทึกหรือที่เรียกว่า Burner นั้นเอง ความเร็วนั้นก็ขึ้นอยู่กับความเร็วที่เขียนอยู่ที่ด้านหน้าของตัวเครื่องนั้นเอง จะมีความเร็วดังนี้เช่น 52x24x52 เพื่อจะที่จะเขียนข้อมูลงแผ่น CDR และจะมีอินเตอร์เฟซแบบ IDE

POWER SUPPLY

Antec True Power Supply 480W

Power Supply จะทำการจ่ายไฟเลี้ยงให้กับอุปกรณ์ต่างๆภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด โดยจะจ่ายไฟเป็น DC ที่ 5 และ 12 โวล์ต ขนาดของแรงดันไฟนั้นขึ้นอยู่กับอุปกรณ์รอบข้างว่าเข้ากับเครื่องได้มากน้อยแค่ไหน ยิ่งจ่ายไฟฟ้าได้มากวัตต์ เท่าไหร่ ก็จะสามารถรองรับอุปกรณ์รอบข้างได้มากเท่านั้นก็ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ภายในของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย ปัจจุบัน Powersupply มีแรงดันไฟที่ 230W ถึง 500W ก็มีแต่ถ้าเป็นของ sevrver นั้นก็จะมีขนาดไฟที่สูงกว่าเยอะเพราะต้องใช้อุปกรณ์ที่มาก ส่วนหัวเสียบนั้นที่นิยมกันก็จะเป็นแบบ ATX นั้นเอง

HEATSINK

Heatpipe Heatsink จาก Taisol

Thermaltake Volcano 9

Heatsink ใช้สำหรับการระบายความร้อนที่เกิดจากอุปกรณ์ต่างภายในเครื่อง โดยเฉพาะซีพียูที่ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความร้อนสูงสุด ซึ่งหากขาด heatsink ซีพียูก็จะไหม้ทันที ดังนั้น heatsink จึงถือเป็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่ง ที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะขาดไม่ได้เด็ดขาด ปกติฮีตซิงก์มักใช้งานร่วมกับพัดลม หรืออุปกรณ์โอนถ่ายความร้อนอื่นๆ เช่น ซิลิโคน เพื่อให้ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนให้สูงสุด โดยมากแล้ว heatsink จะใช้กับ Cpu, Ram, Vga card และ Chipset ทั่วไปซึ่ง heatsink แต่ละแบบก็จะใช้ได้เฉพาะกับอุปกรณ์ที่รองรับเท่านั้น เพราะไม่ว่าจะเป็นขนาด รูปร่าง และวิธีการติดตั้งที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยัง heatsink ยังมีเทคโนโลยี Heat Pipe คือ เทคโนโลยีที่ใช้ท่อกรวงบรรจุของเหลวติดตั้งบนตัว heatsink ซึ่งปลายด้านหนึ่งจะติดอยู่ที่ฐาน และปลายอีกด้านจะติดอยู่ที่ด้านบนของ heatsink ซึ่งของเหลวภายในจะช่วยนำความร้อนจากฐานถ่ายไปด้านบน ซึ่งจะช่วยให้การระบายความร้อนอีกทาง แทนที่จะระบายผ่านครีบและพัดลมเพียงอย่างเดียว

..........ก็แนะนำกันไปพอหอมปากหอมคอนะครับ เมื่อรู้จักอุปกรณ์ต่างๆที่เราจะประกอบก็ลงมือประกอบเครื่องกันได้เลย แต่ทางโอเวอร์คล็อกโซนจะมีบทความแบบทุกขั้นทุกตอนในการประกอบเครื่องตามมาทีหลังอย่างแน่นอนนะครับ สำหรับผู้ที่ไม่เคยประกอบเอง คราวนี้แหละจะได้พูดได้ว่า " ตูประกอบเองเฟ้ย 555 " ทั้งนี้ขอขอบคุณเพื่อนๆพี่ๆที่ติและต่อว่าเรื่องบทความนี่นะครับทางเราได้ดำเนินการแก้ไข้แล้ว


ขอขอบคุณ http://www.overclockzone.com


สัมผัสจริงก่อนใคร ที่นี่ ที่แรก ASUS EAH5870 กับการก้าวสู่ยุค DirectX 11




First Look ! ASUS EAH5870 (ATI Radeon HD5870)
New Generation AMD's DirectX 11 Evergreen family of GPUs


ผ่านพ้นกันไปเป็นที่เรียบร้อยเมื่อสองวันก่อนหน้านี้ สำหรับการเปิดตัวกราฟิกการ์ดตระกูลใหม่ล่าสุดจากทาง AMD-ATI ในตระกูลที่ทาง AMD นั้นได้ตั้งชื่อให้ใหม่เป็นตระกูล Evergreen หรือกับกราฟิกการ์ดในตระกุล ATI Radeon HD5800 Series ส่วนโมเดลแรกที่เปิดตัวสู่สายตาชาวโลกในวันที่ 23 กันยายน 2552 ที่ผ่านมานั้นประกอบไปด้วยสองโมเดลหลักนั่นก็คือ ATI Radeon HD5870 และ ATI Radeon HD5850 และในเวลานี้กับกราฟิกการ์ดในตระกูลดังกล่าวนี้ก็เดินทางมาถึงยัง Labs ของทางโอเวอร์คล๊อกโซนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในวันนี้เราก็จะได้มาทำความรู้จักและสัมผัสกับความแรงอีกหนึ่งยุคสมัยจากทาง AMD-ATI ที่หลายๆท่านต่างเฝ้ารอคอยกัน แต่ด้วยที่กราฟิกการ์ดนั้นเพิ่งจะเดินทางมาถึงในแบบสดๆร้อนๆ ซึ่งในวันนี้ก็ต้องขอแสดงความเสียใจกับมิตรรักแฟนเพลงทั้งหลายเอาไว้ก่อนเลยว่า จะยังคงไม่ได้รับผลทดสอบของมันแต่อย่างใดหากแต่ในวันนี้เราเพียงจะนำมาแนะนำตัวให้ได้เป็นที่รู้จักมักคุ้นกันเสียก่อนเท่านั้น หรือถ้าจะพูดเป็นศัพท์ที่เข้าใจกันในทันทีนั้นก้จะได้ว่าเป็นการ Preview นั่นเอง สำหรับในครั้งนี้กับกราฟิกการ์ดที่ทางเราได้รับมานั้นมิได้เป็นกราฟิกการ์ดในแบบ Refferecne แต่เป็นกราฟิกการ์ดจากผู้ผลิตรายใหญ่ในวงการคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่า ASUS กับกราฟิกการ์ดในโมเดล ASUS EAH5870 ที่ ณ เวลานี้ถือเป็นการ์ดโมเดลใหญ่ที่สุดในตระกูล กระนั้นสำหรับกราฟิกการ์ดตัวนี้ที่เราได้รับมาแม้จะเป็นของ ASUS ก็ตามแต่ทั้งหมดก็ยังคงเป็นการ์ดในแบบ Refferecne จากทาง AMD-ATI โดยทั้งหมดไม่มีความแตกต่างใดๆทั้งสิ้นเว้นแต่เพียงจะมีสติ๊กเกอร์ระบถึงเจ้าของแบรนด์ที่เพิ่มเข้ามาเท่านั้นเอง กระนั้นแล้วในวันนี้เราก็จะขอกล่าวถึงเรื่องราวต่างๆโดยทั้งหมดของการก้าวเข้าสู่ยุคของ HD5000 Series ว่ามันมีอะไรสดใหม่ เปลี่ยนแปลงแก้ไขจากเดิมในยุคปัจจุบันนี้กับ HD4000 Series อย่างไรบ้าง ส่วนเรื่องราวของบททดสอบทางด้านความแรงนั้นจะยังคงไม่มีมาให้ได้ชมกัน เอาหละถ้าอย่างนั้นแล้วเราไปติดตามชมกันเลยว่าเจ้า ATI Radeon HD5870 กราฟิกการ์ดโมเดลแรกของโลกที่พร้อมแล้วสำหรับ DirectX 11 มันมีความพิเศษจากเดิมอย่างไรบ้าง...

New ! Cypress GPU


ก่อนที่เราจะไปว่ากันที่ตัว Hardware นั้นเรามาท้าวความถึงความเป็นมาจากกระแสข่าวก่อนหน้านี้กันสักนิดเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ สำหรับในเวลานี้ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นอย่างแรกจากทาง AMD-ATI ต่อเรื่องราวของ GPUs จากตนเองนั้นจะเป็นในเรื่องของชื่อเรียกของรหัสการผลิตและโค๊ดเนมในการผลิต โดยแต่เดิมนั้นเรามักจะไม่มีการกล่าวถึงรหัสการผลิตของ GPUs มากนักแต่สำหรับทางด้านของ CPU นั้นเราจะคุ้นหูกันเป็นอย่างดีเช่นซีพียูจากทาง AMD ในเวลานี้จะใช้ชื่อโมเดลจากรหัสการผลิตของตนเองว่า Phenom II ส่วนโค๊ดเนมของการผลิตนั้นจะมีด้วยกันหลากหลายอาทิเช่น Denep เป็นต้น ส่วนทางด้านของอินเทลนั้นรหัสการผลิตในเวลานี้ก็จะเป็นยุคของ Nehalem ส่วนโค๊ดเนมนั้นก็ตัวอย่างเช่น Bloomfield หรือ Lynnfield ที่เพิ่งจะเปิดตัวกันไป ในส่วนนี้เชื่อว่าทุกท่านคงจะคุ้นเคยกันมาตลอดแต่หากเป็นทางด้านของ GPUs แต่เดิมเรามักจะได้ยินเพียงโค๊ดเนมการผลิตของ GPUs ในแต่ละยุคสมัยเช่น R600, R700, RV790 โดยทั้งหมดตรงนี้ซึ่งเป็นโค๊ดเนมการผลิตและจะเห็นได้ว่าโค๊ดเนมที่ใช้มักจะเป็นรหัสตัวเลขเป็นหลัก แต่มาถึงวันนี้ทาง AMD-ATI ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงเิกิดขึ้นโดยมีการนำรหัสการผลิตและโค๊ดเนมมากล่าวถึงซึ่งสำหรับกราฟิกการ์ดในตระกูลใหม่ล่าสุด ATI Radeon HD5000 Series นี้นั้นทาง AMD-ATI จะได้มีการใช้รหัสการผลิตที่มีชื่อว่า "Evergreen" ส่วนโค๊ดเนมของการผลิตนั้นก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงเช่นเดียวกันที่แต่เดิมจะเป็นรหัสตัวเลขดังตัวอย่างที่ได้กล่าวไป แต่เวลานี้ได้ใช้โค๊ดเนมในลักษณะของชื่อเรียกเฉกเช่นซีพียู ซึ่งกราฟิกการ์ดที่มาในโมเดล Radeon HD5870 และ HD5850 นั้นจะใช้โค๊ดเนมในการผลิต GPUs Chips ที่มีชื่อว่า " Cypress " แทนที่จะเป็น RV880 หรือตัวเลขอื่นๆดังที่เคยเป็นมา และเวลานี้เราก็คงจะได้รู้จักกันไปแล้วว่า Cypress ที่เราจะได้กล่าวถึงกันต่อไปนั้นคืออะไร ถ้าอย่างนั้นแล้วเราก็ไปทำความรู้จักกับเจ้า Cypress กันเลยดีกว่าว่ามันจะมีอะไรที่แตกต่างไปจาก RV770 และ RV790 ในตระกูล ATI Radeon HD4870 และ HD4890 ที่ถือว่าเป็นพี่ใหญ่ในปัจจุบันนี้สำหรับกราฟิกการ์ดในแบบ Single GPU จากทาง AMD-ATI

สำหรับ Cypress ถือได้ว่าเป็นกราฟิกชิบโมเดลใหม่ล่าสุดจากทาง AMD-ATI ที่เพิ่งจะเปิดตัวกันไป โดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในส่วนของตัว Hardware ไม่นับรวมถึงรูปทรงภายนอกของตัวการ์ดนั้น จะว่าไปแล้วอาจจะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากRV770 และ RV790 เดิมมากนัก แต่มันก็มีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนในเลยทีเดียว สำหรับชิบกราฟิกในรหัส Cypress นั้นทั้งหมดได้ถูกผลิตขึ้นบนพื้นฐานของชิบในรหัส RV770 เดิมแทบจะทั้งหมดแต่ความแตกต่างอย่างแรกที่เกิดขึ้นคือการเปลี่ยนขนาดของกระบวนการผลิตจากเดิมที่ 55nm สู่กระบวนการผลิตในขนาด 40nm เช่นเดียวกันกับกราฟิกชิบในรหัส RV740 ของ ATI Radeon HD4770ส่วนคำกล่าวที่ว่า Cypress ได้ถูกผลิตจากพืนฐานของในส่วน RV770 นั้นหากอยากจะทราบว่า RV770 มีคุณสมบัติและรายละเอียดต่างๆอย่างไรบ้าง สามารถเข้าไปติดตามอ่านได้จากเรื่องราวที่เราได้เคยนำเสนอไว้จาก พลังขับเคลื่อนล่าสุดจาก AMD-ATI กับ Radeon HD4800 Series ด้วย ASUS EAH4850 ซึ่งจะทำให้จากนี้ไปสามารถที่จะเข้าใจได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งนอกจากในเรื่องของขนาดกระบวนการผลิตที่เล็กลงแล้วนั้น ความแตกต่างที่อย่างสิ้นเชิงซึ่งเป็นจุดหลักที่น่าสนใจก็คือในส่วนของขนาด Uni Shader ของเจ้า Cypress ซึ่งจะมีจำนวนทั้งหมด 1600 unit นับเป็นจำนวนสองเท่าของ RV770 ที่จะมีขนาดเพียง 800 unit และจากขนาดหรือจำนวนที่เพิ่มขึ้นตรงนี้ของตัว GPUs นั้นอาจจะเรียกได้ว่าเป็นการ Rebuild ของ RV770 ก็ได้เพราะว่าทาง AMD-ATI ได้เพิ่มจำนวนของ Uni Shader โดยการนำเอาชุด SIMD Engine จากโครงสร้างของ RV770 จำนวนสองชุดมาประกอบเข้าด้วยกันเลยทำให้ Cypress มี Uni Shader ทั้งหมด 1600 unit ดังที่ปรากฏ ซึ่งตรงนี้ก็เป็นผลมาจากขนาดของกระบวนการผลิตที่เล็กลงเป็น 40nm นั่นเองที่ทำให้สามารถเพิ่มจำนวนของชุด SIMD ลงไปได้อีกหนึ่งชุดอย่างไม่เป็นปัญหา และไม่เพียงในส่วนของจำนวน Uni Shader ที่เพิ่มขึ้นในเรื่องของความเร็วในการทำงานของ Cypress ก็มีความเร็วที่เพิ่มขึ้นจาก RV770 อีกเช่นกันกล่าวคือ RV770 จะมีความเร็วในการประมวลผลที่ระดับ 750MHz แต่สำหรับ Cypress จะมีความเร็วในการทำงานที่เท่ากับ RV790 คือ 850MHz และในจุดต่อมาคือในส่วนของขนาด L2 Cache ภายในตัว GPUs ทาง AMD-ATI ก็ได้มีการเพิ่มขนาดเป็นสองเท่าจากเดิมของ RV770 ที่มีขนาดตัวละ 64KB จากทั้งหมด 4 ชุดไปเป็นตัวละ 128KB ซึ่งตรงนี้ก็เพื่อรองรับข้อมูลที่จะมีจำนวนมากขึ้นจากขนาดของ Uni Shader ที่เพิ่มมากขึ้นเป้นสองเท่านั่นเอง และนอกจากนี้เมื่อขนาดของ L2 Cache มีขนาดใหญ่ขึ้นก็จะสามารถส่งข้อมูลให้กับชุด L1 ได้รวดเร็วขึ้นอีกด้วยเพราะตัว L2 Cache มีความสามารถในการสำรองข้อมูลได้มากขึ้นนั่นเอง ท้ายที่สุดแล้วก็ช่วยส่งผลให้ประสิทธิภาพสุดท้ายเพิ่มขึ้นอีกด้วย สุดท้ายกับในส่วนของตัว GPUs ในความเปลี่ยนแปลงที่เิกดขึ้นซึ่งทาง AMD-ATI ได้มีการเพิ่มชุดควบคุมการแสดงผลที่มีชื่อว่า Eyefinity Display Controller เพื่อช่วยให้ตัวกราฟิกการ์ดนั้นสามารถแสดงผลได้ในแบบ Multi-Mornitor มากขึ้นซึ่งสามารถรองรับการแสดงผลได้สูงสุดถึง 6 Display ด้วยกัน ซึ่งจากทั้งหมดตรงนี้ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของ Cypress ที่เราจะได้สัมผัสและใช้งานกันต่อไป สำหรับทางด้านของเมโมรีที่ทำงานร่วมกับ Cypress ก็จะยังคงเป็นเมโมรีในแบบ GDDR5 เช่นเดียวกันแต่จะมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในส่วนของ



โค๊ดคำสั่งการทำงานภายในของตัว Memory Controller ที่จะมีระบบการจัดการข้อมูลที่ผิดพลาด โดยที่จะสามารถตรวจสอบค้นหาข้อมูลที่มีความผิดพลาดที่อยุ่ภายในตัวเมโมรี และจากนั้นก็สามารถแก้ไขข้อมุลเหล่านั้นให้ถูกต้องได้ก่อนที่จะส่งข้อมูลออกไป ในส่วนนี้จะมีทั้งผลดีและผลเสียแต่หากมองในมุมมองของการใช้งานปรกติจะถือว่าเป็นข้อดีอย่างมาก ที่สามารถแก้ไขข้อมุลที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้ และจะส่งผลให้เราสามารถเพิ่มความเร็วในการโอเวอร์คล๊อกของตัว Memory ให้สูงขึ้นได้ค่อนข้างมากอีกด้วย โดยที่จะไม่พบกับอาการผิดปรกติในส่วนของภาพที่ออกมา แต่ผลเสียที่กล่าวไปนั้นคือในการโอเวอร์คล๊อกหากมีการใช้ความเร็วของเมโมรีในระดับที่สูงมาก เราอาจจะไม่เจออาการผิดปรกติในการแสดงผลซึ่งเมโมรีจะยังคงสามารถทำงานได้อย่างปรกติ แต่ประสิทธิภาพที่ออกมานั้นจะลดลงไป นอกจากในเรื่องของการตรวจสอบความผิดพลาดแล้วนั้นชุดเมโมรีคอนโทรลเลอร์ของ Cypress จะยังสามารถลดความเร็วการทำงานของเมโมรีลงได้ในภาวะ Idle เช่นเดียวกันกับความเร็วของ GPU อีกด้วย นั่นก็เท่ากับว่าจะสามารถช่วยลดระดับการบริโภคพลังงานลงไปได้ในอีกระดับหนึ่งเลยทีเดียว สุดท้ายสำหรับสิ่งที่จะลืมไปไม่ได้เลยกับ AMD Cypress ในวันนี้กับความสามารถที่เป็นเจ้าแรกของโลกในวงการกราฟิกการ์ดด้วยการรองรับการทำงานของ DirectX 11 เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นเอง



Features/GPU
Radeon HD5870
Radeon HD5850
Radeon HD4870X2
Radeon HD4890
Radeon HD4870
Codename
Cypress XT
Cypress Pro
R700
RV790
RV770XT
Transistor Count (Millions)
2154 million
2154 million
956x2 million
959 million
956 million
Fabrication Process
40 nm
40 nm
55nm
55nm
55 nm
Die size
338 mmˆ2
338 mmˆ2
260 mmˆ2
282 mmˆ2
260 mmˆ2
Memory (Max)
1GB
1GB
2x1 GB
1GB
1GB/512 MB
Uni Shader
1600
1440
800x2
800
800
Core Speed
850 MHz
725 MHz
750 MHz
850 MHz
750 MHz
Memory Speed
4800 MHz
4000 MHz
3600 MHz
3900 MHz
3600 MHz
Maximum Fill Rate (MTexels/s)
68000
52200
2x 30000
34000
30000
Memory Bus Width
256-bit
256-bit
256-bit
256-bit
256-bit
Memory Type
GDDR5
GDDR5
GDDR5
GDDR5
GDDR5
Max Memory Bandwidth
153.6 GB/s
128 GB/s
115.2x2 GB/s
124.8 GB/s
115.2 GB/s
Multi-GPU Support
Yes,
CrossfireX
Yes,
CrossfireX
Yes,
CrossfireX
Yes,
CrossfireX
Yes,
CrossfireX
DirectX Version Support
11
11
10.1
10.1
10.1
OpenGL Version Support
2.1
2.1
2.1
2.1
2.1
Bus Type
PCI-E 2.0
PCI-E 2.0
PCI-E 2.0
PCI-E 2.0
PCI-E 2.0
OverclockZone



จากเรื่องราวความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นเราก็คงจะได้ทราบกันไปแล้วว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างสำหรับ AMD Cypress ตรงนี้เราลองมาดูข้อมุลทางเทคนิคกันสักนิดระหว่าง Cypress XT และ Cypress Pro ว่าจะมีอะไรแตกต่างกันออกไปบ้าง จากตารางข้างต้นเราจะพบว่าระหว่าง Cypress XT และ Cypress Pro หรือ HD5870 และ HD5850 นั้นจะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้นคือแตกต่างกันเพียงเรื่องของจำนวน Uni Shader และที่ Cypress XT จะประกอบด้วย Uni Shader 1600Unit ส่วน Cypress Pro จะมีเพียง 1440unit ส่วนความเร็วในการประมวลผลของ ATI Radeon HD5870 จะมีความเร็วในการทำงานที่ 850/4800MHz Core/Memory แต่สำหรับ ATI Radeon HD5850 จะมีความเร็วที่ลดต่ำลงมาคือ 725/1000MHz Core/Memory สำหรับในส่วนของความแตกต่างจากจำนวน Uni Shader ระหว่าง XT และ Pro นั้นก็เป็นเพียงการปิดใช้งานของ Uni Shader จากตัว XT มาเป็น Pro เท่านั้น จากตรงนี้ไม่แน่ว่าอาจจะมีข่าวดีออกมาให้ลุ้นกันอีกครั้งว่าจะมีทางที่เปิดใช้งานในส่วนที่ถูกปิดนี้ได้หรือไม่ ดังเช่นที่เคยเป็นมาในอดีตอย่างการเปิด Pipe-Line หรือการเปลี่ยน HD2900GT ไปเป็น HD2900XT เรื่องนี้ค่อนข้างน่าติดตามไม่น้อย เอาหละในส่วนของรายละเอียดทางเทคนิคต่างๆในวันนี้ก็คงจะมีอะไรแต่เพียงเท่านี้ จากนี้ไปเดี๋ยวเราไปติดตามชมกันในส่วนของตัว Hardware กันต่อเลยแล้วกันครับ

ASUS EAH5870 (ATI Radeon HD5870)




สำหรับตัวการ์ดเองนั้นได้มีการออกแบบรูปร่างหน้าตามาใหม่ทั้งหมด ซึ่งรูปทรงจะออกมาในแบบเรียบๆไม่หวือหวาเท่าใดนัก แต่โดยรวมแล้วก็ถือว่าสวยงามอยุ่ กับลักษณะของชุดระบายความร้อนที่จะมีฝาครอบคลุมตลอดทั้งตัวการ์ด หากมองจากทางด้านบนนั้นแทบจะมองไม่เห็นตัว PCB เลย ส่วนทางด้านหลังเองก็เช่นเดียวกันที่จะมีฝาครอบแผ่นโลหะที่ทำจากอลูมิเนียมปกคลุมไว้เกือบทั้งหมดเช่นกัน ส่วนโทนสีหลักที่ใช้นั้นจะเป็นสีดำคาดแดงตามแบบของกราฟิกการ์ดจากทาง ATI ตัวฝาครอบทางด้านหน้าหากเป็นการ์ดมาตรฐาน AMD จะไม่มีลวดลายใดๆเลยจะมีก็เพียงแถบคาดสีแดงบริเวณกึ่งกลางการ์ด สำหรับการ์ดตัวนี้จากทาง ASUS นั้นทาง ASUS เองก็ไม่ได้มีการใช้ลวดลายใดๆเช่นกันจะมีเพียงโลโก ASUS บริเวณมุมซ้ายล่างและบนตัวพัดลมระบายความร้อนเท่านั้นเอง

Package & Bundled





ในส่วนของตัวแพ็กเกจนั้นสีสันและลวดลายที่ใช้มาในแบบฉบับของการ์ดในตระกุล ATI Radeon HD4800 Series ของตนเองทั้งหมด และบริเวณหน้ากล่องจะเห็นว่ามีข้อความ Voltage Tweak ระบุไว้นั่นก็หมายความว่ากราฟิกการ์ดตัวนี้จากทาง ASUS รองรับฟังก์ชันการเพิ่มไฟเลี้ยงให้กับตัวกราฟิกชิบได้นั่นเอง ส่วนทางด้านของอุปกรณ์บันเดิลก็ไม่มีอะไรเป็นพิเศษนอกจากคูปองสำหรับใช้ดาว์นโหลดเกม Colin Mcrae DIRT2 ซึ่งเป็นเกมส์ที่รองรับ DirectX 11 เป็นเกมส์แรกๆโดยจะพร้อมให้ดาว์นโหลดมาเล่นได้ในประมาณเดือนธันวาคมนี้



บริเวณฝาครอบอลูมิเนียมทางด้านหลังเราก็จะพบกับสัญลักษณ์ ATI Radeon Premium Graphic ซึ่งแสดงให้เห็นว่า กราฟิกการ์ดในโมเดลดังกล่าวนี้อยุ่ในกลุ่มระดับใด




สำหรับพอร์ทสำหรับจ่ายไฟเลี้ยงเพิ่มเติมให้กับตัวการ์ดนั้นจะมาในแบบ Pci-e 1.0 หรือในแบบ 6pin จำนวนสองชุดเช่นเดียวกันกับกราฟิกการ์ดในโมเดล ATI Radeon HD4870 และ ATI Radeon HD4890 โดยไม่มีความต้องการที่จะใช้หัวจ่ายไฟเลี้ยงในแบบ Pci-e 2.0 หรือ 8pin ซึ่งนั่นก็หมายความว่าตัวการ์ดไม่ได้ต้องการใช้พลังงานที่สูงมากนั่นเอง และสำหรับพินในการเชื่อมต่อใช้งานการ์ดในโหมด Crossfire นั้นจะยังคงมีมาในจำนวนสองชุด แสดงให้เห็นว่ากราฟิกการ์ดในตระกูลดังกล่าวนี้ยังคงรองรับการใช้งานในแบบ CrossfireX ได้มากที่สุด 4GPU เช่นเดิม

เล็กๆน้อยกับรายละเอียดในการออกแบบของตัวฝาครอบ เพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับตัวการ์ดที่จะทำให้ตัวจะได้ไม่ดูทื่อๆ จนเกินไปกับช่องระบายอากาศในบริเวณท้ายการ์ดจำนวนสองช่อง พร้อมด้วยขอบสีแดงตัดกับพื้นสีดำที่ดูแล้วสวยงามดี



Connection Port



สำหรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นผลพลอยได้จากเทคโนโลยี Eyefinity ที่ทำให้กราฟิกการ์ดในโมเดลดังกล่าวนี้จะสามารถรองรับการเชื่อมต่อการแสดงผลได้สูงสุด 3 จอแสดงผลโดยจะมีพอร์ทสำหรับเชื่อมต่อสู่จอแสดงผลทั้งหมด 3 รูปแบบสี่จุดด้วยกันอันประกอบไปด้วย Dual-DVI, HDMI 1.3 และ Display Port ในส่วนนี้เป็นอะไรที่ยืดหยุ่นต่อการใช้งานได้มากเลยทีเดียวกับประเภทของพอร์ทที่มีมาให้ในหลากหลายรูปแบบ
Size Compared

เราลองมาดูกันที่เรื่องของขนาดตัวกันบ้างสำหรับเจ้า ATI Radeon HD5870 จากที่เห็นกันมาก่อนหน้านี้จากข่าวแหล่งต่างๆ และเชื่อว่าหลายๆท่านต่างก็คงจะสงสัยกันว่าตัวการ์ดนั้นจะยาวมากน้อยสักเพียงไร ซึ่งความยาวของตัวการ์ดนั้นจะมีความยาว 28cm ถือว่าเป็นการ์ดที่ยาวพอสมควร หากดูจากความยาวของการ์ดที่เรานำมาเปรียบเทียบด้วยแล้วนั้นนับว่าเป็นการ์ดที่ยาวที่สุดในเวลานี้

Final Words

ในวันนี้กับบทสรุปของเราคงจะยังไม่ขอกล่าวอะไรมากนัก เพราะในวันนี้เป็นเพียงการนำเสนอในแบบแนะนำตัวให้ได้รู้จักกันก่อนเท่านั้น ซึ่งรายละเอียดต่างๆไม่ว่าจะเป็นทางด้านเทคนิคและข้อมูลจำเพาะต่างๆก็คิดว่าน่าจะครบถ้วนกระบวนท่าไปพอสมควร เราก็คงจะได้รู้จักกันไปเป็นที่เรียบร้อยสำหรับ AMD Cypress ที่ในเวลานี้จะมีออกมาให้ได้เห็นกันเพียงโมเดลเดียวเท่านั้นคือ ATI Radeon HD5870 ที่เป็นโมเดลเปิดตัว แต่คิดว่าอีกไม่นานเราก็จะได้พบกับโมเดลรองอย่าง ATI Radeon HD5850 อย่างแน่นอน สำหรับในส่วนของรูปร่างหน้าตานั้นก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าจะเหมือนกันกับในโมเดล HD5870 ดังที่เป็นข่าวหรือไม่ คงต้องรอชมการ์ดตัวเป็นๆออกมาเสียก่อน สำหรับในวันนี้หากย้อนกลับไปมองกันที่ความเปลี่ยนแปลงที่ได้ทราบกันไปนั้น เราก็คงน่าจะประเมินความแรงหรือประสิทธิภาพกันได้บ้างแล้วว่าจะออกมาในรูปใด แต่ในท้ายที่สุดแล้วมันจะเป็นไปตามที่คาดหวังไว้หรือไม่ก็ต้องรอชมบททดสอบกันอีกครั้ง และอีกหนึ่งอย่างที่อยากจะกล่าวไว้ตรงนี้สำหรับการนำเสนอในวันนี้ ที่ทางเราไม่ได้มีภาพในส่วนของตัว PCB มาให้ได้ชมกันก็เพราะว่า ยังไม่อยากที่จะรื้อตัวการ์ดก่อนทำการทดสอบอย่างไรแล้วก็ไว้รอชมในครั้นทำการทดสอบ เดี๋ยวจะได้นำมาให้ได้ชมกันแบบทุกอนูทุกมุมอย่างแน่นอน เอาหละครับสำหรับวันนี้นั้นก็คงจะมีอะไรนำเสนอให้ได้ชมกันแต่เพียงเท่านี้ก่อน บททดสอบเสร็จสิ้นเมื่อไหร่เรามาว่ากันอีกครั้ง.... สวัสดีครับ...

ASUS EAH5870 (ATI Radeon HD5870)

Special Thanks: ASUSTek Inc.

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.overclockzone.com